กรอบการดำเนินการจัดการวิกฤต (Crisis Management Framework)-COVID-19 ช่วงนี้ผมคิดว่าควรทำตัวให้เป็นประโยชน์ จึงได้เอาความรู้ที่เคยได้มีโอกาสทำงานใน field นี้มาแชร์ให้ทุกคนได้อ่าน
เมื่อ2 วันก่อนผมได้รับสายจากพี่คนนึงที่ต้องเข้ามารับผิดชอบเรื่องการจัดวิกฤต ในช่วงการเกิด COVID นี้ คำถามของพี่เค้าคือ “COVID มันเพิ่งเกิดแล้วจะมีใครทำแผนหรือรู้ล่วงหน้าแบบนี่หรือ”
คำถามนี้ดีนะครับ ทำให้ผมฉุดคิดได้ว่ามันวัดได้หลายมุมเลยสำหรับคำถามนี้ ถามตอบแบบซื่อๆ ก็ต้องตอบว่า “COVID-19 เป็นโรคอุบัติใหม่ถ้าจะเอาแผนตรงๆเลยคงไม่มี แต่ถ้าองค์กรไหนมีการเตรียมการที่ดี เค้าอาจจะมีแผนที่เกือบเหมือนเช่น ตอนเกิดโรค SAR อะไรแบบนี่ เราก็จะพอมาประยุกต์กันได้
คำถามต่อมาคือ ?????????? เค้าถามต่อด้วยการถึงบางอ้อที่ว่า “แสดงว่าแผนการจัดการวิกฤต เราเตรียมล่วงหน้าได้นะสิ” ผมเลยตอบกลับไปแบบจริงใจ ไม่ได้กวนว่า ขึ้นชื่อว่าแผนต้องเตรียมก่อนได้แน่นอน
1. READINESS หรือบางคนเรียน Pre crisis phase ง่ายๆเลยครับก่อนเกิดเหตุบางคนอาจถามว่า ก่อนเกิดเหตุมีอะไรต้องทำด้วยหรา ผมขอแบ่งเป็น 2 ประเภทองค์กรครับ 1) ถ้ามีแผนอยู่แล้ว ก็ซ้อมแผนไป 2) ถ้าไม่มี ต้องทำแผนก่อนครับ หรืออย่างแรกที่สุดคือ ตั้งทีมก่อน —> CMT (Crisis Management Team)
2. RESPONDE... อย่างสถานการณ์ COVID เรานี้ อยู่ในขั้นตอนนี้เลยครับ โดยปกติขั้นตอนนี้จะมีแผนย่อยอยู่หลายแบบ 1) t=0. ช่วงเวลาเกิดเหตุ เราคงต้องเน้นไปที่การเอาตัวรอด แผนนี้มักถูกเรียกในเชิงของสายการแพทย์ —> emergency response plan คือ เอาตัวรอน่างานก่อน เช่นกรณีการเกิดไฟไหม้ คือ แผนหนีไฟ กรณีน้ำท่วม คือ แผนน้ำท่วม. 2) t= 1-2 วัน. พอทุกคนมีชีวิตรอด ปลอดภัยเเล้ว ผ่านมา1-2 วัน ไม่ควรเกิน2 วัน. ผู้บริหาร หรือ โฆษกองค์กรคงต้องออกมาสื่อสารวิกฤต (Crisis Communication) ซึ่งสำคัญมาก พูดดีจะทำให้ขนาดความเสียหายลดลงแต่ถ้าพูดไม่ถูกแนวทาง จะทำให้องค์กรพังทลายได้ครับ. 3) t>2. ผ่านมาสักพักคงต้องทำให้ธุรกิจสามารถรันต่อไปได้แล้ว เหมือนที่เคยโพสไปในบล้อกก่อนหน้า เกี่ยวกับแผนรองรับสถานการณ์ฉุกเฉิน —> Business continuity management
3) Recovery การฟื้นฟู ต้องประกอบไปด้วยทางกายภาพและสภาพจิตใจครับ เช่นการเกิด COVID คนเครียด จิตใจย่ำแย่ ธุรกิจพัง เราต้องประเมินสภาพการณ์ทั้งกายภาพและจิตใจด้วยครับ
คิดว่าทุกท่านน่าจะมองเห็นภาพกว้างๆ ในการจัดการวิกฤตนะครับ ไว้พบกันใหม่ครับ
กรอบการดำเนินงานด้านการจัดการวิกฤต (Crisis Management Framework)
9 พ.ค. 2563