ความเป็นกลางทาง Carbon ตามความหมายไม่ได้หมายถึง การไม่ปล่อย Greenhouse gas แต่หมายถึง การสร้างสมดุลระหว่างการปล่อยออกกับดูดกลับ โดยจะ focus ไปที่กลไกการดูดกลับ ซึ่งเป็นกระบวนการลดปริมาณ Greenhouse gas และลดปัญหาโลกร้อนและการเกิด Climate change แต่การไม่ปล่อยเลยจะเรียกว่า การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์
โดยล่าสุดพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีของไทย ได้ขึ้นเวทีกล่าวถ้อยแถลงที่GLASGOW CLIMATE CHANGE CONFERENCE – OCTOBER-NOVEMBER 2021 COP 26 ตามข้อตกลงปารีสว่า ยืนยันไทยให้ความสำคัญกับการแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยในปี 2019 ไทยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ถึง 17% และไทยพร้อมยกระดับการแก้ไขปัญหาภูมิอากาศอย่างเต็มที่ เพื่อบรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน ในปี 2050 และการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ ในปี 2065
ทั้งนี้อุตสาหกรรมที่ผลิต Greenhouse gas มากที่สุดสำหรับประเทศไทยคือ การผลิตกระแสไฟฟ้า (Electricity Generation) ด้วยการใช้พลังงานเผาไหม้ fossil ซึ่งจะเห็นว่าเป็นเรื่องจำเป็น เพราะหากวันหนึ่งเราไม่มีไฟใช้กัน เราก็อยู่กันไม่ได้ แต่ทาง EGAT-การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย: กฟผ.- ไม่นิ่งนอนใจ เดินหน้าวางแผนการผลิตกระแสไฟฟ้าด้วยพลังงานทดแทน ด้วยระบบ Hybrid ผสมผสานหลายแห่งพลังงาน เช่น พลังงานแสงอาทิตย์ (แต่มีข้อเสียคือได้เฉพาะตอนกลางวัน) พลังงานลม พลังงานน้ำ ตลอดจนเอาเทคโนโลยีขั้นสูงมาเช้า เพื่อเป้าหมายของการลด เป็นกลางทาง Carbon (Carbon Neutrality) กับการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net-zero Carbon) ให้ได้ในอนาคต
Reference: https://www.facebook.com/tgo.or.th/videos/12532311...
เกร็ดความรู้: ความแตกต่างระหว่างความเป็นกลางทาง Carbon (Carbon Neutrality) กับการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net-zero Carbon) คืออะไร
11 พ.ย. 2564