การมีอายุยืนยาวขึ้นและวิวัฒนาการทางการแพทย์ดีขึ้น มีข้อดีคือทำให้เราได้อยู่กับครอบครัวและคนที่เรารักไปอีกนาน ในทางตรงกันข้ามเกิดเป็นความเสี่ยงที่เรียกว่า ความเสี่ยงของการมีอายุยืนยาวหรือ "Longevity Risk" ความเสี่ยงด้านนี้มีผลกระทบหลายอย่าง ซึ่งผมได้เคยทำวิจัยเรื่องนี้ สามารถอ่านได้ที่ (https://so02.tci-thaijo.org/.../article/view/243069/168121)
(Journal: Humanities, Arts and Social Sciences Studies Scopus Q3)
ผลกระทบของการมีอายุยืนยาว แบ่งเป็น
1) ผลกระทบรายบุคคล เช่น เราทุกคนต้องวางแผนกันให้ดีว่าจะบริหารการเงินให้พอใช้อย่างไรจากการมีอายุที่ยืนยาวขึ้น และพึ่งพาสวัสดิการ หรือกองทุนต่างๆ ได้น้อยลง เพราะกองทุนเหล่านี้ก็เจอสถานการณ์เงินไม่พอหล่อเลี้ยงคนที่อายุยืนยาวขึ้น ผมเคยสรุปไว้ใน https://shorturl.asia/6tLWw
2) ผลกระทบรายธุรกิจ
เช่น ธุรกิจประกันต่าง ๆ ต้องคิดเบี้ยประกันกันใหม่ ให้สอดคล้องต่อ mortality rate
3) ในเชิงโครงสร้างทั่วโลก
เริ่มเห็นชัดเเล้วว่า สำนักงานประกันสังคมบ้านเราได้มีการออกประกาศว่า จะเก็บเงินสมทบมาตรา 33 เริ่มในปี 2567 เพิ่มจากเดิมขอบเพดานเงินเดือนสูงสุดที่ 5 % ของ 15,000 บาท จะเก็บเพิ่มเป็น 5% ของเพดานเงินเดือนสูงสุดที่ 17,500 บาท ดังนั้นจึงเก็บเป็น 875 บาท (5%ของ 17,500 บาท) และจะเก็บเป็นขั้นบันไดแบ่งเป็น 3 Phase ตามภาพ
สาเหตุหลักที่ต้องเก็บเพิ่มสมทบเพิ่ม สอดคล้องกับ Longevity Risk เลยครับ คือหากไม่เก็บเงินเพิ่ม กองทุนประกันสังคมจะไม่พอจ่ายบำนาญ เพราะสภาพกองทุนจะมีเงินสำรองเป็นลบ ในอีกประมาณ 20-30 ปีข้างหน้า
และทีน่ากลัวยิ่งกว่าสิ่งอื่นใดคือ "การยังมีชีวิตอยู่แต่.........เงินไม่มีแล้วนี้แหละครับ"
ที่มาโครงสร้างประกันสังคมมาตรา 33 อย่างละเอียด
https://moneyhub.in.th/.../social-security-new-payment.../
ดูวีดีโอเนื้อหาเกี่ยวกับการบริหารความเสี่ยงได้ที่
การปรับเงินสมทบรายเดือนเพิ่มของประกันสังคม มาตรา 33

18 มิ.ย. 2566