• Home
  • Our Service
    • การบริหารความเสี่ยงองค์กร
    • ด้านความเสี่ยงด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ
      • สถานการณ์ความเสี่ยงสภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง
      • บริการและคำแนะนำเกี่ยวกับความเสี่ยงด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ
    • บริการและคำแนะนำเกี่ยวกับระบบบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจ
    • การรับรองสมรรถนะด้านการประเมินความเสี่ยง
  • Our Experience
    • Our Clients
  • Blog
  • Articles
  • Contact Us

“เมื่อ Climate Change กระทบกับ Bottom Line”

Post Title
7 ม.ค. 2567
ในการประกอบธุรกิจ ต้นทุนทางธุรกิจมักแบ่งเป็น ต้นทุนคงที่  (fixed cost) และต้นทุนผันแปร (variable cost) และผู้ประกอบการมักอนุญาตให้ต้นทุนผันแปรขึ้นได้ตามยอดขาย แต่มักจะพยายามลดต้นทุนคงที่ ซึ่งเรามักพบว่าธุรกิจใดเมื่อต้นทุนคงทีเพิ่มขึ้นแต่ยอดขายไม่เพิ่มขึ้น ธุรกิจนั้นจะประสบกับความเสี่ยงทางการเงิน

เมื่อพูดถึงคำว่า “Bottom Line” ผมมักนึกถึงงบกำไรขาดทุน หรือ Profit-Lost Financial Statement (P&L) Bottom Line ก็คือบรรทัดสุดท้ายนั่นคือ กำไรสุทธิของกิจการ ซึ่งเกิดจากยอดขาย-ต้นทุนขาย (cost of good sold)-ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร (SG & A)  ลบออกด้วยพวกค่าเสื่อม ดอกเบี้ย และภาษี จนถึงกำไรสุทธิ (ตามภาพสามเหลี่ยมค่ำ)

ทั้ง 2 รูปแบบคือธุรกิจที่ยังไม่ได้รวมต้นทุนทางคาร์บอน เราพูดเรื่องนี้กันมานานแล้วครับ แต่ความฝันจะกลายเป็นความจริงขึ้นเรื่อย ๆ เมื่อเหล่าประเทศที่เข้าร่วมข้อตกลงปารีส (Paris Agreement) เริ่มตั้งเป้าหมาย Net-Zero และขับเคลื่อนกันอย่างจริงทุกภาคส่วน และเมื่อประเทศประกาศ Net-Zero กันอย่างจริง ๆ ธุรกิจ และภาคอุตสาหกรรมก็ถูกบังคับให้ดำเนินการอย่างจริงจังผ่านคำว่า “ESG” ซึ่งคำนี้ก็มีมานานแล้ว แต่บริษัทไม่ค่อยสนใจเพราะคิดตลอดเวลาว่าไม่กระทบ หรืออย่าพูดถึงว่า ESG เลยถึงวันนี้แค่สร้างกำไรก็ยากแล้ว ติดตัวแดง (ขาดทุน) ตลอดเวลา


ความจริงจังจะบังเกิดหากมีเรื่องเงินเข้ามาเกี่ยวข้องครับ ในปี 2567 เป็นต้นไป (จริง ๆ มีมาก่อนหน้านี้ครับ) ธุรกิจจะไม่ได้มีต้นทุนโครงสร้างเพียงแค่นี้อีกต่อไป ปัจจัยด้าน ESG (Environmental, Social, Governance) โดยเฉพาะตัว “E” จะเข้ามาทำให้ Bottom Line เราเปลี่ยนไป ตัวอย่างนำร่องที่ชัดเจนคือ สถาบันการเงิน (ซึ่งเป็นตัวกลางระหว่างผู้อยากใช้เงินกับนักลงทุน) ต้องปฏิบัติตามมาตรฐานที่เรียกว่า PCAF (Partnership for Carbon Accounting Financials)  โดย PCAF คือ เป็นองค์กรความร่วมมือระดับโลกของสถาบันการเงินที่ได้พัฒนามาตรฐานสากลสำหรับการประเมินและการเปิดเผยข้อมูลการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เกี่ยวข้องกับสินเชื่อและการลงทุน  โดยสถาบันการเงินไทยหลายแห่งเริ่มตื่นตัวและจริงจัง ดูได้จากลิงค์ด้านล่าง 



https://www.scb.co.th/th/about-us/news/jul-2565/scbx-net-zero.html

https://media.ttbbank.com/1/sustainability/th_climate-strategy.pdf

https://www.bot.or.th/content/dam/bot/financial-innovation/sustainable-finance/green/TBA_TH_Industry_Handbook.pdf

https://www.kasikornbank.com/th/sustainable-development/SDAnnualReports/Y2022_SD_TH.pdf

เรื่องนี้จะเป็นการปรับตัวครั้งใหญ่ของธุรกิจ แต่ถ้าไม่เริ่มวันนี้ความเสี่ยงเกิดขึ้นแน่นอนครับ เพราะ Bottom Line จะลดลงอย่างชัดเจน และหากจะเริ่มต้นเรื่องนี้ คำแนะนำคือ เริ่มจากการหาความรู้ก่อนว่า PCAF มันคืออะไร https://carbonaccountingfinancials.com/   

ท่านอาจจะเป็นคนแรกๆ ที่เข้าใจเรื่องนี้ และสร้างโอกาส สร้าง profile ได้ สามารถ turning risk to opportunity ได้เลยแหละครับ





Search our Blog

Recent Posts

Categories

Archive

Address

Condo The Trust Residence Ratchada Rama III
20/896 F17 Nonsee Road, Chong Nonsi, Yannawa, Bangkok 10120

   Add Line

Contact us

   Tel : 087-711-9446
   Line ID : patipanlim7
   Facebook : Risk and Opportunity

   
Email : patipanlim7@gmail.com

Our Courses

   Enterprise Risk Management
   Climate Change Risk
   Business Continuity Management System

Copyright © 2018 Patipanerm.com All Rights Reserved Powered by WebsMy