ผมเชื่อว่ามนุษย์ทุกคนมีสัญชาติญาณด้านความเสี่ยงกันทุกคนอยู่แล้วมากน้อยแตกต่างกันไปตามการเลี้ยงดู สภาพแวดล้อม ประสบการณ์ในอดีต ตัวอย่างการบริหารความเสี่ยงในระดับบุคคลเช่น พรุ่งนี้ต้องไปสัมภาษณ์งานที่สมัครไป เป็นการไปแถวนั้นครั้งแรก ไม่รู้ว่ารถติดแค่ไหน (เห็นไหมครับ ความเสี่ยงคือความกังวลใจในอนาคต ความเสี่ยงต้องเป็น Future event) การเผื่อเวลาตื่นเช้าหน่อย เท่านี้ก็เรียกว่าบริหารความเสี่ยงแล้ว
ดังนั้นสำหรับผู้ประกอบการที่ประกอบธุรกิจคนเดียวหรือ (One-person Business), SME, Start-up ก็ต้องมีการบริหารความเสี่ยง เพียงแต่ไม่รู้ว่าสิ่งที่ตัวเองทำคือการบริหารความเสี่ยงแล้ว คนใกล้ตัวเลยครับ พี่สาวของผมเองประกอบธุรกิจขายส่งสินค้าให้กับร้าน 20 บาทอีกที ผมเคยถามพี่สาวว่ามีการบริหารความเสี่ยงไหม เจ้เค้าบอกไม่มี แต่ผมว่ามีเพราะสิ่งที่เค้าทำคือ
- ก่อนหน้านี้โกดังเจ้เค้าน้ำเคยท่วมและสินค้าคงคลังเสียหายหนัก ไม่อยากให้เกิดเหตุการณ์แบบนี้อีก ก็มีการซื้อประกันน้ำท่วมไว้แล้วตอนนี่ แบบนี้ตรงๆเลยว่าเป็นการบริหารความเสี่ยงและเลือกใช้การถ่ายโอนความเสี่ยง (sharing risk)
- เรื่องสินค้าที่เอาไว้ขาย เจ้เค้าบอกว่ารู้ว่าเทศกาลใหญ่จะมาถึงพวกปีใหม่ สงกรานต์ ตรุษจีน ของอาจไม่พอขาย เพราะคนจับจ่ายใช้สอยเยอะ ก็สั่งของมาล่วงหน้า เห็นไหมครับว่าความเสี่ยงก็คือความกังวลใจในอนาคต (แต่สิ่งที่กังวลนั่นต้องสาระและเกี่ยวกับทิศทางของบริษัทเรานะ) การสั่งของมาล่วงหน้าก็คือการบริหารความเสี่ยงนั่นเอง
ในคลิปได้ย่อยเนื้อหาให้เข้าง่าย ไม่เกิน 3 ชม ครับ มีเอกสาร Handout แจกด้วยครับ https://drive.google.com/drive/u/0/folders/1Hl1n1nvWOYxeFrwEM-emqGyqxApZ3vzc
แต่ทำไมหนอองค์กรใหญ่ถึงมีการทำจริงจัง เหตุผลลึกๆ คืออะไร ไว้คราวหน้ามาคุยกันนะครับ