• Home
  • Our Service
    • การบริหารความเสี่ยงองค์กร
    • ด้านความเสี่ยงด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ
      • สถานการณ์ความเสี่ยงสภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง
      • บริการและคำแนะนำเกี่ยวกับความเสี่ยงด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ
    • บริการและคำแนะนำเกี่ยวกับระบบบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจ
    • การรับรองสมรรถนะด้านการประเมินความเสี่ยง
  • Our Experience
    • Our Clients
  • Blog
  • Articles
  • Contact Us

ESG Rating สำคัญหรือไม่

Post Title
9 ก.ค. 2567
เรื่อง ESG มาแรงแซงทุกคำ เนื่องจากการทำ ESG อาจไม่ได้ถูกมองว่าเป็นการทำความดีเพื่อสังคมอีกต่อไป แต่ถือสิ่งที่สร้างความน่าเชื่อถือให้กับบริษัทในมุมมองของนักลงทุนและยังคงมีโอกาสจากคำนี้อีกมากมาย


ก่อนอื่นขอเล่าประวัติเรื่องนี้กันก่อนครับ

ตั้งแต่ยุค 1980S
ทั่วโลกเริ่มเข้าใจว่าการประกอบธุรกิจโดยเน้นแต่ E แรก คือ “Economic” อย่างเดียวคงไม่พอ  เพราะหากมุ่งเน้นปัจจัยที่กระตุ้นเศรษฐกิจอย่างเดียวแต่ทรัพยากรมีจำกัด จะเกิดปัญหาอื่นตามมา จึงเกิดแนวคิดของการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainability Development-SD) ที่มีสามเหลี่ยม 3 วงเกิดขึ้น  คือ E ตัวแรกยังไม่พอ ต้องพิจารณา E สำคัญถัดไปคือ Environment (สิ่งแวดล้อม) และสังคมด้วย





                                        

ภายหลังจากแนวคิด SD เกิดขึ้นในยุค 1990S ก็มีแนวคิดการใส่ใจต่อสิ่งแวดล้อมหรือ Corporate Social Responsibility (CSR) เกิดขึ้น โดยในตีความมิติสังคมที่มุ่งเน้นว่าการธุรกิจแล้วได้กำไรต้องคืนกลับสู่สังคม เช่นกิจกรรมการปลูกป่า กิจกรรมงานการกุศลต่าง ๆ ซึ่งการทำ CSR เป็นเรื่องดีมาก แต่อาจมองว่าเป็นการทำความดี มากกว่ามุมมองทางธุรกิจ

คำนี้บูมขึ้นในช่วง 2000S และก็เงียบหายไป อาจเป็นได้ 2 สาเหตุ 1) องค์กรก็ต้องมีกำไรเหลือก่อนที่จะให้สังคมได้ และเศรษฐกิจแบบนี้ ช่วงสถานการณ์ COVID-19 ก็เล่นเอาหลายธุรกิจปิดตัวลง เงินเหลือทำ CSR คงยาก 2) CSR เป็นกิจกรรมที่ดี แต่ไม่ค่อยเชื่อมโยงกับ Business Model ของธุรกิจ นั้น ๆ การทำจึงไม่ค่อยต่อเนื่อง และคำนี้ก็ค่อย ๆ จางหายไป

ยุคของ ESG (Environment, Social, Governance)

เมื่อ CSR กลายเป็นงานประจำแล้วและไม่ค่อยเชื่อมโยงกับประจำ ในมุมมองของความยั่งยืนเองซึ่งประกาศโดยองค์กรสหประชาชาติในปี 2015 หรือที่เรียกว่า SDGs (Sustainable Development Goals) 17 ประการ มุ่งหมายเพื่อขับเคลื่อนความยั่งยืนในมุมของ เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม แต่มีความแตกต่างจากความร่วมมืออื่นคือ มีสมมุติฐานที่ว่าการขับเคลื่อนเป้าหมาย SDGs 17 ให้สำเร็จในปี 2030 นั้นต้องได้รับความร่วมมือจากองค์กร (firm level) ไม่ใช่แค่นโยบายภาครัฐ เพียงอย่างเดียว




ด้วยเหตุนี้เราจึงเริ่มเห็น หลายองค์กรเริ่มเชื่อมโยง SDGs 17 เข้ากับ vision, mission, strategy ของบริษัท ด้วยความสำคัญของการขับเคลื่อนด้านความยั่งยืนระดับองค์กร  UN Global Compact ซึ่งมีหน้าที่ขับเคลื่อน SDGs สู่การปฏิบัติระดับองค์กร คิดคำศัพท์ ESG ขึ้นมาราว ๆ ช่วง ปี 2005 เพื่อมุ่งเน้นการขับเคลื่อนด้านความยั่งยืนทางสิ่งแวดล้อม สังคม ผ่านการกำกับที่แข็งแรง  คำว่า ESG จึงเข้ามาอยู่ในระดับองค์กรช่วงเวลาหนึ่งแล้ว และจะยังคงทวีความเข้มข้นต่อไป




บริษัทที่มี ESG Rating กับที่ ไม่มี ESG Rating

ตอนนี้ facilitator และ regulator อย่างเช่น ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) และ กลต (SEC) เอาจริงกับการขับเคลื่อนด้าน ESG

โดยมีการให้คะแนน rating กับบริษัทที่สนใจเข้าร่วมโครงการ ESG Rating
ดั่งภาพด้านล่างนี้คือบริษัทที่ได้รับการประเมิน rating  แต่การดำเนินการประเมิน rating ยังคงเป็นไปในรูปแบบภาคสมัครใจ


แต่กลับมาที่คำถามที่เกรินไว้ตั้งแต่ตอนต้นว่าแล้วองค์กรที่มี ESG Rating กับไม่มี ESG Rating มันได้ประโยชน์อะไร ผมขอตอบในมุมมองที่จับต้องได้ในเชิงเศรษฐศาสตร์

  • เพิ่มมูลค่าของบริษัทในสายตานักลงทุน นักลงทุนสถาบันต่างประเทศ จะเริ่มมองหาบริษัทที่ใส่ใจต่อความยั่งยืน เมื่อเปรียบเทียบบริษัทที่ผ่านการประเมิน ESG Rating กับอีกบริษัทที่ยังไม่ประเมิน ความน่าเชื่อถือเพื่อเข้ามาลงทุนจึงต่างกัน บริษัทที่มี ESG Rating จึงน่าสนใจกว่า
  • ต้นทุนทางธุรกิจ ของบริษัทที่ใส่ใจต่อ ESG ในอนาคตจะต่ำกว่า เช่น บริษัทที่ใส่ใจต่อสิ่งแวดล้อมจะปรากฎต้นทุนคาร์บอนที่ต่ำกว่า มาตรฐานบัญชีใหม่ เช่น PCAF  จะปรากฎต้นทุนทางคาร์บอนเข้าอยู่ในงบการเงิน เป็นต้น 

กลไกการขับเคลื่อนด้าน ESG ตามมุมมองของ SET

SET กำหนด framework สำหรับการขับเคลื่อนด้าน ESG ไว้กว้างๆ 5 ขั้นตอนดั่งภาพด้านล่าง




  • Management Buy in  (การให้ผู้นำเห็นด้วยและขับเคลื่อนสิ่งนี้)
  • Materiality Assessment (กระบวนการประเมินประเด็นสำคัญทางธุรกิจ)
  • Policy (นโยบาย)
  • Strategy (กลยุทธ์)
  • Implementation (นำไปปฏิบัติ)
  • Disclosure (เปิดเผยข้อมูล และ การรายงาน)
ผมได้เคย post เกี่ยวกับ ESG โดยเฉพาะแนวทางการเพิ่มพูนความรู้ด้าน ESG สำหรับคนทำงานได้ที่ในลิงค์นี้
  1. เส้นทางสู่ ESG มืออาชีพ https://shorturl.asia/T4Ypn
  2. อยากเข้าสู่วงการ ESG  https://shorturl.asia/cj8nA

ไว้มาคุยเรื่อง ESG กันต่อนะครับ

Search our Blog

Recent Posts

Categories

Archive

Address

Condo The Trust Residence Ratchada Rama III
20/896 F17 Nonsee Road, Chong Nonsi, Yannawa, Bangkok 10120

   Add Line

Contact us

   Tel : 087-711-9446
   Line ID : patipanlim7
   Facebook : Risk and Opportunity

   
Email : patipanlim7@gmail.com

Our Courses

   Enterprise Risk Management
   Climate Change Risk
   Business Continuity Management System

Copyright © 2018 Patipanerm.com All Rights Reserved Powered by WebsMy