สถานการณ์ความเสี่ยงสภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง (Climate Change Risk)
หลายคนอาจเข้าใจว่าแค่อากาศเปลี่ยนไปในแต่ละวัน เราเรียกว่า Climate Change ได้หรือไม่ และ Climate กับ Weather ต่างกันอย่างไร สามารถดูสรุปสั้น ๆ ได้จากคลิปนี้
บริษัทระดับโลกเริ่มมีการเปิดเผยข้อมูลการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (Carbon Scope 1,2,3) และมีการปรับตัวแบบทางธุรกิจเข้าสู่ธุรกิจคาร์บอนต่ำ (Low Carbon) ปรากฎการณ์นี้เป็นการปรับตัวต่อความเสี่ยงด้านสภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง หลายคนมักเข้าใจว่า Climate Change Risk อาจมีเพียงความเสี่ยงที่สภาพอากาศรุนแรง เช่น น้ำท่วม การเกิดพายุ หรือความร้อนที่เพิ่มขึ้น เพียงเท่านั้น ซึ่งลักษณะดังกล่าวจะเรียกว่าความเสี่ยงเชิงกายภาพหรือ Climate Physical Risk แต่ความเสี่ยงด้าน Climate Change ไม่ได้มีเพียงเท่านี้
ความเสี่ยงด้าน Climate Change มีผลกระทบวงกว้าง สมาชิกของ UN จึงได้มีการสร้างสนธิสัญญา Paris Agreement ขึ้นและปฏิบัติตามด้วยความสมัครใจ ตั้งแต่ปี 2015 เป็นต้นมาหลายประเทศให้คำมั่นสัญญาในการลดการปล่อย Green House Gas (GHG) และมีการจัดทำรายงานส่งทุก 5 ปี ซึ่งเรียกว่ารายงาน NDC (Nationally Determined Contribution)
ประเทศไทยมีการกำหนดความเป็นกลางทางคาร์บอนในปี 2050 (Carbon Neutral) และปล่อยคาร์บอนเป็นศูนย์ (Net Zero Carbon) ในปี 2065 ความเสี่ยงที่เกิดจาก Climate Change นอกเหนือจากความเสี่ยงทางกายภาพที่กล่าวไปก็คือ ความเสี่ยงในการเปลี่ยนผ่านหรือ Climate Transition Risk เพราะเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอนและไม่ปล่อยคาร์บอน ส่งผลให้ธุรกิจต้องเปลี่ยนตัวแบบทางธุรกิจ และหากนโยบายการลด GHG ภายนอกเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในขณะที่บริษัทปรับตัวไม่ทัน Transition Risk ก็จะทวีความรุนแรงขึ้นนั้นเอง
หากกล่าวถึงสถานการณ์ Climate Change Risk ในประเทศไทย พบว่าเข้าขั้นมีความเสี่ยงสูงมาก จากผลการสำรวจของ German Watch พบว่าประเทศไทยมีความเสี่ยงด้าน Climate Change อันดับที่ 9 ของโลก และหากวิเคราะห์จากการจัดการความเสี่ยงด้านนี้ อ้างอิงจาก Climate Action Tracker (https://climateactiontracker.org/) พบว่าเข้าขั้นวิกฤต (Critically Insufficient)
กล่าวโดยสรุปความเสี่ยง Climate Change แบ่งเป็น Physical และ Transition Risk ที่ปรึกษาขอเสนอแนวทางการบริหารความเสี่ยงด้าน Climate Change ทั้ง 2 ประเภทดังนี้ )